เมนู

3. อรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ


พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งพระสูตรอื่นอีก แล้วชี้แจงถึงแบบอย่าง
ของอินทรีย์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดังนี้.
อริยมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า โสต ในบทนี้ว่า โสตาปตฺติยงเคสุ.
การถึงการบรรลุอย่างสมบูรณ์ ชื่อว่า โสตาปตฺติ (การแรกถึงกระแสธรรม).
องค์คือสัมภาระแห่ง โสตาปตฺติ ชื่อว่า โสตาปตฺติยังฺคานิ (องค์แห่งการแรก
ถึงกระแสธรรม). โสดาปัตติยังคะ 4 อย่างเหล่านี้ คือ การคบสัตบุรุษเป็น
โสดาปัตติยังคะ 1 การฟังสัทธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ 1 โยนิโสมนสิการ เป็น
โสดาปัตติยังคะ 1 การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ 1
เป็นองค์แห่งการได้ส่วนเบื้องต้น เพราะความเป็นพระโสดาบัน. อาการที่เหลือ
กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
อนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวเพื่อให้เห็นว่า อินทรีย์เหล่านี้เป็นใหญ่ในวิสัย
ของตน. เปรียบเหมือนเศรษฐีบุตร 4 คน เมื่อสหายมีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่
เป็นที่ 5 เดินไปตามถนนด้วยคิดว่า จักเล่นนักษัตร ครั้นไปถึงเรือนของ
เศรษฐีบุตรคนที่ 1 อีก 4 คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้น
สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชยะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้ของหอม
ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหายเหล่านี้. แล้วเดินตรวจตราในเรือน
ครั้นไปถึงเรือนคนที่ 2-3-4 อีก 4 คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือน
เท่านั้น สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชนียะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้
ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหาย แล้วเดินตรวจตราใน

เรือน. ครั้นไปถึงพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลังทั้งหมด พระราชา
แม้จะเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวงก็จริง ถึงดังนั้นในกาลนี้ก็ยังรับสั่งว่า พวกเจ้าจงให้
ขาทนียะ โภชนียะแก่สหายเหล่านี้ จงให้ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับ
แก่สหายเหล่านั้น แล้วทรงดำเนินตรวจตราพระราชมณเฑียรของพระองค์ ฉันใด
เมื่ออินทรีย์มีหมวด 5 ทั้งศรัทธาก็ฉันนั้น เหมือนกัน แม้เกิดในอารมณ์เดียวกัน
ก็เป็นดุจเมื่อสหายเหล่านั้นเดินไปตามถนนร่วมกัน. ครั้นถึงเรือนคนที่ 1 อีก
4 คนนั่งนิ่ง เจ้าของเรือนเท่านั้นเดินตรวจตรา ฉันใด สัทธินทรีย์มีลักษณะ
น้อมใจเชื่อ เพราะบรรลุโสดาปัตติยังคะ เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น.
อินทรีย์ที่เหลือตามสัทธินทรีย์ไป.
ครั้นถึงเรือนคนที่ 2 อีก คนนอกนั้นนั่งนิ่ง. เจ้าของเรือนเท่านั้น
เดินตรวจตรา ฉันใด วีริยินทรีย์เท่านั้น มีลักษณะประคองไว้ เพราะบรรลุ
สัมมัปปธาน เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามวิริยินทรีย์ไป.
ครั้นถึงเรือนคนที่ 3 อีก 4 คนนอกนั้นนั่งนิ่ง เจ้าของเรือนเท่านั้น
เดินตรวจตรา ฉันใดสตินทรีย์เท่านั้นมีลักษณะตั้งมั่น เพราะบรรลุสติปัฏฐาน
เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามสตินทรีย์ไป.
ครั้นถึงเรือนคนที่ 4 อีก 4 คนนอกนี้นั่งเฉย เจ้าของเรือนเท่านั้น
เดินตรวจตรา ฉันใด สมาธินทรีย์เท่านั้น มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน เพราะบรรลุ
ฌานเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามสมาธินทรีย์ไป.
แต่ครั้นไปถึงพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลังทั้งหมด อีก 4 คน
นั่งเฉย พระราชาเท่านั้นทรงดำเนินตรวจตรา ฉันใด ปัญญินทรีย์เท่านั้น
มีลักษณะรู้ทั่ว เพราะบรรลุอริยสัจ เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์
ที่เหลือตามปัญญินทรีย์ไป ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาปเภทคณนนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในปเภทคณนนิเทศ อันเป็นเบื้องต้นแห่งคำถาม
จำนวนประเภทแห่งพระสูตร. บทว่า สปฺปุริสสํเสเว คือการคบสัตบุรุษ
ได้แก่ ในการคบคนดีโดยชอบ. บทว่า อธิโมกฺขาธิปเตยฺยฏฺเฐน ด้วย
อรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยอรรถว่าความเป็นใหญ่ในอินทรีย์
ที่เหลือกล่าวคือน้อมใจเชื่อ อธิบายว่าด้วยอรรถ คือเป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือ.
บทว่า สทฺธมฺมสฺสวเน คือการฟังสัทธรรม ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ หรือชื่อว่า
สทฺธมฺม เพราะเป็นธรรมงาม ในการฟังสัทธรรมนั้น. บทว่า โยนิโส-
มนสิกาเร
คือการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย. ในบทว่า ธมฺมานุ
ธมฺมปฏิปตฺติยา
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ พึงทราบความดังนี้
ธรรมที่เข้าถึงโลกุตรธรรม 9 ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺม. การปฏิบัติการถึง
ธรรมานุธรรมอันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ.
แม้ใน สัมมัปปธาน เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาปเภทคณนนิเทศ